สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

การดูแลเครื่องมือต่างๆ

การดูแลเครื่องมือต่างๆ

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเครื่องมือ

               1. ลดการผิดพลาดของเครื่องมือได้  พร้อมจะใช้งานได้และถูกต้องอยู่เสมอ

               2. ลดจำนวนของการซ่อมแซม   ลดค่าใช้จ่าย  ลดเวลาที่เครื่องจะไม่ได้ใช้งาน    

               3. ยืดอายุการใช้งานของเครื่อง

               4. ลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากความผิดปกติในเครื่องมือ

               5. ลดเวลาที่ใช้ในการซ่อมแซม เพราะเครื่องมือที่ได้รับการบำรุงรักษาอยู่เสมอ ๆ  จะช่วยให้ทราบสาเหตุของการเสียหายได้ง่าย

ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องมือ

1. ตรวจด้วยตาเปล่า  มีจุดประสงค์ที่จะหาความผิดปกติที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า   ทั้งภายนอก และภายในเครื่อง

2. การทำความสะอาด ภายนอกอาจใช้ ผงซักฟอกหรือน้ำสบู่ สารละลายอินทรีย์ที่เหมาะสม     เช็คถูโดยไม่ทำให้เครื่องมือเสียหาย  ส่วนการทำความสะอาดภายใน หรือที่เป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกควรใช้ลมดูดหรือลมเป่า สิ่งสกปรกโดยเฉพาะฝุ่นละออง สายไฟเก่าหรือสกปรกเปลี่ยนใหม่

3. การทดสอบหน้าที่ (function testing) ว่ายังใช้งานได้หรือไม่ ถ้าผิดปกติ ซ่อม แก้ไข หรือลองทำการปรับ (calibrate) เครื่องให้ถูกต้องก่อน

4. การทดสอบความปลอดภัย (safety testing) 

เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน  2  กลุ่ม

            1.เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือเตรียมตัวอย่างให้เหมาะสม เพื่อนำไปวิเคราะห์วัดหาปริมาณสาร

            2.เครื่องมือวิเคราะห์วัดหาปริมาณสาร

เครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญในห้องปฏิบัติการ 

- เครื่องชั่ง

- เตาอบลมร้อน และเตาไมโครเวฟ

- Autoclave 

- vacuum oven   Rotary evaporator  และ freeze dry 

- pH meter

- Centrifuge 

1. เครื่องชั่ง  (balance)

ชนิดของเครื่องชั่ง

          แบ่งตามหลักการทำงาน ได้ 2 ชนิด

          1. Mechanical balance : มีคานและจุดหมุน

          2. Electronic balance : มีการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

Electronic balance การติดตั้งต้องวางเครื่องให้อยู่ในแนวระดับขนานพื้นโลก ก่อนการใช้งานต้องเปิดเครื่องก่อน 5-10 นาที

อุปกรณ์ประกอบในการใช้เครื่องชั่ง

            1. โต๊ะวางเครื่องชั่ง มีน้ำหนักมาก นิยมใช้โต๊ะหินอ่อน เพราะช่วยลดแรงสั่นสะเทือน จากพื้นได้

            2. ถุงดูดความชื้น ป้องกันเครื่องชั่งเกิดสนิม

สาเหตุที่ทำให้เครื่องชั่งชั่งน้ำหนักผิดพลาด

            1. วัตถุหรือสารที่มีการปนเปื้อนน้ำหนัก

            2. มีความชื้นปนอยู่ แก้ไขโดยอบแห้งแล้วปล่อยให้เย็นในโหลดูดความชื้น

            3. มีสิ่งสกปรกเจือปน เนื่องจากสารเคมีสกปรก เสื่อมคุณภาพ ช้อนตักสารสกปรกหรือภาชนะชั่งสกปรก

            4.แรงจากภายนอก

            - ลม  ความร้อนจากวัตถุทำให้เกิดอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น  และอากาศเย็นไหลเข้ามาแทนที่ พร้อมกับดันวัตถุขึ้น  เมื่อชั่งจึงทำให้วัตถุชั่งได้น้อยกว่าปกติ

          - แรงดูดหรือแรงผลักระหว่างประจุ  เมื่อวัตถุหรือสารมีประจุไฟฟ้า  กรณีประจุที่เหมือนกันจะผลักกันทำให้ชั่งน้ำหนักได้มาก กรณีที่ประจุต่างกันจะดูดกัน เมื่อซึ่งน้ำหนักน้อยกว่าเป็นจริง

          - แรงหนีศูนย์กลาง เกิดจากการหมุนของโลก  แรงมาก   น้ำหนักวัตถุต่ำกว่าน้ำหนักจริง

          - แรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงอื่นระยะทางระหว่างวัตถุกับดาวเคราะห์เหล่านั้น

สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้เครื่องชั่ง

     1. ตั้งบนโต๊ะที่มีการสั่นสะเทือนน้อย และแยกจากเครื่องมืออื่น ไม่ตั้งชิดหน้าต่าง เพราะอาจมีฝุ่น และความร้อนจากแสงแดด

     2. ห้ามวางวัตถุบนจานชั่งโดยตรง (พวกของเหลว เปียกชื้น)

     3.ไม่ควรชั่งสารเคมีที่สามารถกัดกร่อนโลหะโดยตรง  ควรใส่ในขวดที่มีฝาปิดมิดชิด    

     4. หากไม่ได้ใช้งานนาน ๆ ควรใส่ถุงดูดความชื้นเก็บ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม

     5. ควรทำความสะอาดทันทีเมื่อเครื่องชั่งสกปรก โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นของเหลว

การบำรุงรักษา

      การทำความสะอาด โดยใช้แปรงขน หรือพู่กันระบายสีปลายแบน หากสกปรกมากให้ใช้ แอลกอออล์ 50% เช็ดทำความสะอาด

ตู้อบลมร้อน  (Hot air Oven)

อุปกรณ์และคุณสมบัติ

   1. ผนังตู้อบ เป็นโลหะที่ไม่เป็นสนิม ไม่เปลี่ยนรูปร่าง กระจายความร้อนได้ดี ป้องกันการสูญเสียความร้อนจากภายในสู่ภายนอก   ทำความสะอาดได้ง่าย 

  2. ตัวกำเนิดความร้อน  ใช้แท่งความร้อนหรือลวดความต้านทาน

  3.ช่องระบายอากาศ    ระบายควัน ไอน้ำ หรือไอจากสารเคมีออกจากตู้อบ เพื่อลดการสูญเสียความร้อนอันเนื่องมาจากมีความชื้นในตู้อบ

  4.ระบบถ่ายเทความร้อน มี 2 แบบ

      1) การพาความร้อนโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง

      2) การพาความร้อนโดยใช้พัดลม

สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้ตู้อบความร้อน

          1. เลือกขนาดตู้อบให้เหมาะสมกับประมาณวัตถุที่นำมาอบ/ใช้งาน

          2. ตั้งตู้อบให้ได้ระดับ ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี ปราศจากฝุ่นละออง และควรห่างจากตู้เย็น/ทำความร้อน/ห้องปรับอากาศ

          3. ควรคว่ำภาชนะเครื่องแก้ว/พลาสติกให้แห้งจนเหลือน้ำน้อยที่สุด ก่อนนำไปอบ เพื่อช่วยประหยัดพลังงานความร้อน

          4.ใช้อุณหภูมิให้เหมาะสมกับวัตถุที่นำมาอบ เช่น  พลาสติด <  60oC แก้ว < 120oC   และหลีกเลี่ยงการอบสารเคมีที่จะระเบิด/ตัดไฟได้ง่าย

          5. ปิดประตูตู้อบให้สนิททุกครั้งที่อบวัตถุ/สาร  และไม่เปิดตู้อบโดยไม่จำเป็น

          6. ควรฆ่าเชื้อตามพื้น/ผนังตู้เพาะเชื้อ

          7. สวมถุงมือกันร้อน ทุกครั้งที่หยิบวัตถุ

การบำรุงรักษา

     1. ตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิ ทุก 6 เดือน

     2. ตรวจสอบการรั่วไหลของความร้อน

     3. ตรวจสอบการขาด/การลัดวงจรไฟฟ้าของแท่งกำเนิดความร้อนทุก ๆ 6 เดือน

     4. ตรวจสอบความถูกต้องของนาฬิกาตั้งเวลาทำงานทุก ๆ 6 เดือน

     5. ทำความสะอาดภายนอก/ภายในตู้อบ

     6. หล่อลื่นบานพับของประตู

     7. เป่าฝุ่นจากแผนวงจร electronic ทุก ๆ ปี

     8. ทำความสะอาดตัวไวความร้อนและตัวกำเนิดความร้อน

การเลือกตู้อบ

     1. ช่วงอุณหภูมิในการใช้งาน

     2. ควรมีพัดลมกระจายความร้อนในตู้อบลมร้อนที่มีขนาดใหญ่

     3. มีความถูกต้องและมีความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิ

     4. มีช่องระบายอากาศที่ปรับขนาดได้ตามงานที่ทำ

     5. ระบบควบคุมความร้อนควรเป็นแบบ electronic มีระบบความคุม program

     6. มีการตัดไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิ สูงเกินกว่าอุณหภูมิ ที่กำหนดไว้มาก ๆ

     7. สูญเสียความร้อนน้อย

     8. ภายในตู้อบควรทำด้วย Stainless steel

     9. ตู้อบขนาดใหญ่ ควรมีประตูแยกหลาย ๆ บาน

    10. เสียงพัดลมควรเบา หรือไม่ได้ยินรบกวน

ปัญหาที่มักพบบ่อย

          1. ตู้อบไม่ร้อนเลย  สาเหตุมาจากปลั๊ก  fuse ขาด   timer   ตัวกำเนิดความร้อนขาด  switch เสีย

          2. ตู้อบภายในมีความร้อนน้อยกว่าปกติ   น่าจะเป็น สาเหตุมาจากตั้งปุ่มควบคุมอุณหภูมิต่ำเกิน ตัวปุ่มป้องกันอุณหภูมิสูงเกินกว่าอุณหภูมิของปุ่มควบคุม อุณหภูมิ ตัวไวความร้อนเสีย วงจรเสียหาย ความร้อนมีการรั่ว ตัวกำเนิดความร้อนเสีย/ขาด/สกปรก

view